นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล เพื่อฟื้นฟูการประมงทะเลและอุตสาหกรรมการประมง เปิดเผยความคืบหน้าการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.การประมง เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมประมงไทยว่า ขณะนี้ได้ข้อสรุปในการแก้ไข พ.ร.บ.ประมง และกฎหมายระดับรองแล้ว เพื่อนำไปใช้แทนที่กฎหมายฉบับเดิมจากรัฐบาลที่แล้ว ที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายไอยูยูจากสหภาพยุโรป ซึ่งส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมประมงในประเทศเป็นอย่างมาก และสร้างความเสียหายมากกว่า 3.2 ล้านล้านบาท
“ล่าสุด การแก้ไขกฎหมายเสร็จสิ้นแล้ว ตามที่นายกรัฐมนตรี สั่งทำเร่งด่วนให้เสร็จสิ้นภายใน 99 วันแรกของรัฐบาล จากนี้จะเตรียมนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเลฯ วันที่ 15 ธ.ค. นี้ จากนั้นนำเข้าสู่การพิจารณา ครม. แล้ว เข้าสู่รัฐสภาได้ต้นปี 67 เพื่อออกเป็นกฎหมายให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ขณะเดียวกัน ก็จะนำกฎหมายฉบับใหม่ไปเจรจาทำความเข้าใจกับอียู”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายภูมิธรรม กล่าวว่า มั่นใจว่าทางอียูจะเข้ามา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยหารือกับท่านทูตอียูประจำประเทศไทยแล้วว่า ที่ผ่านมา ไทยปรับปรุงแก้ไขการทำประมง เพื่อให้ถูกต้องตามกฎกติกาของอียู แต่กลับเป็นการทำลายอุตสาหกรรมประมงไทยอย่างมาก จากเคยส่งออกอันดับ 1 ของโลก ต้องกลายเป็นผู้นำเข้า ดังนั้น จึงถามอียูว่าจะช่วยเยียวยาไทยได้หรือไม่ เช่น มีเงินชดเชย ส่งคนมาให้ความรู้ด้านการทำประมง ผ่อนคลายกฎกติกาต่างๆ หรือเปล่า ซึ่งรัฐบาลก็ตั้งใจจะช่วยแก้ปัญหาชาวประมงให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมั่นใจว่า กฎหมายนี้จะผ่านความเห็นชอบ และบังคับใช้ได้ ส่วนเมื่อนำไปเจรจากับอียูแล้ว อียูจะเห็นด้วย หรือจะให้ธงเหลือง ธงแดงกับไทยอีกหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องเจรจา เชื่อมั่นว่า จะเจรจาได้ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ด้านนายปลอดประสพ สุรัสวดี ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเลฯ กล่าวว่า การออกกฎหมายไอยูยูจากรัฐบาลก่อน ไม่ได้ศึกษาไตร่ตรองให้ดี ซึ่งทำลายอุตสาหกรรมประมงไทย ส่งผลให้ผู้ประกอบการประมงถูกดำเนินคดีนับหมื่นราย มีเรือประมงกว่า 3,000 ลำ ถูกบังคับให้ต้องจอด อีกทั้งยังมีบทลงโทษที่รุนแรง เสียหายมากถึง 300,000-400,000 ล้านบาทต่อปี ในเวลา 7-8 ปีของรัฐบาลก่อน รวมความเสียหายสูงถึงราว 3.2 ล้านล้านบาท และยังกระทบต่อห่วงโซ่อุตสาหกรรม เช่น โรงงานน้ำแข็ง ห้องเย็น สถานีน้ำมัน สะพานปลา ตลาดปลา แพปลา ท่าเทียบเรือ จึงถือเป็นวาระเร่งด่วนที่รัฐบาลนี้ต้องทำให้เสร็จ
สำหรับสาระสำคัญของการปรับปรุง พ.ร.บ.ประมง ฉบับนี้ จะนำร่างเดิมของพรรคเพื่อไทยที่เคยทำเสร็จแล้ว มาเป็นหลักในการอ้างอิง โดยมีได้แก้ไขทั้งหมด 33 มาตรา ยกเลิก 2 มาตรา และเพิ่มเติมอีก 6 มาตรา รวมเป็น 41 มาตรา ตัวอย่างเช่น ประเทศไทย น่านน้ำไทย ต้องใช้กฎหมายไทย, ให้ความสำคัญกับอาชีพประมง ไม่ใช่โจร เพราะกฎหมายเดิม ชาวประมงเหมือนเป็นโจร หากทำอะไรผิดจากที่กฎหมายกำหนด ก็จะต้องถูกจับ หรือลงโทษ, ยกเลิกการจับแบบกวาดล้างไปทั่ว ส่วนบทลงโทษ จะปรับให้เหมาะสม ไม่หนักเกินไป เป็นต้น นอกจากนี้ คณะกรรมการประมงแห่งชาติ ยังได้ยกเลิกคำสั่งที่ไม่เห็นชอบด้วยกฎหมาย 8 เรื่อง ซึ่งเกี่ยวกับไอยูยู 3 เรื่อง ที่ให้อำนาจจับกุม ติดตามประมงผิดกฎหมาย โดยการแก้ไขดังกล่าว ชาวประมงพอใจ และอยากให้กฎหมายออกมาบังคับใช้ได้สำเร็จ