น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กรณีการปรับเพิ่มจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตเป็น 8% ปี 67 จากปัจจุบัน 5% นั้น มองว่าจะส่งผลดีต่อลูกหนี้ที่ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม โดยการปรับจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตได้ปรับลดลงมาในช่วงโควิดมาอยู่ที่ 5% เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ที่ผ่านมาเดิมมาตรการจะต้องจบปลายปีที่แล้วแต่เศรษฐกิจฟื้นตัวยังไม่ชัดเจน ตอนนี้เป็นการทยอยกลับขึ้นมา ทำให้การจ่ายขั้นต่ำได้ทยอยกลับมาเป็นปกติ 8% ปี 67 และ 10% ปี 68 ซึ่งเป็นอัตราตามปกติคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ การจ่ายขั้นต่ำไปเรื่อยๆ จะมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เช่น วงเงินกู้ 80,000 บาท ดอกเบี้ย 16% จ่ายขั้นต่ำ 5% จะปิดหนี้ใช้เวลาถึง 10 ปี 3 เดือน จ่ายดอกเบี้ยรวม 28,000 ล้านบาท ถ้าจ่ายขั้นต่ำ 8% จะปิดหนี้ได้ 6 ปี 3 เดือน ต้องจ่ายดอกเบี้ย 16,000 ล้านบาท แต่หากจ่ายขั้นต่ำ 10% จะใช้เวลาปิดหนี้เพียง 5 ปี จ่ายดอกเบี้ยรวม 12,000 ล้านบาท เห็นว่าแม้ลูกหนี้ต้องผ่อนชำระค่างวดมากขึ้น แต่สามารถนำค่างวดไปตัดชำระเงินต้นได้มากขึ้น จึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและสามารถปิดจบหนี้ได้เร็วคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาส 4 หรือปลายปีนี้ ธปท. ได้ให้สถาบันการเงินเร่งสื่อสารการปรับเกณฑ์จ่ายขั้นต่ำให้ลูกค้ารับทราบ และเตรียมแนวทางดูแลลูกหนี้ที่ไม่สามารถปรับเพิ่มอัตราการจ่ายได้ เช่น การโอนเปลี่ยนประเภทหนี้เป็นเทอมโลน หรือแบบมีระยะเวลา และกำหนดงวดการจ่ายให้สอดคล้องกับความสามารถชำระหนี้
อย่างไรก็ตาม จากประเมินเบื้องต้นมีลูกหนี้จ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตเกิน 10% มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 70-80% และมีส่วนน้อยจ่ายขั้นต่ำไม่เกิน 5% แต่เข้าใจบางคนไม่มีความสามารถจ่ายหนี้ได้จริง เพราะการฟื้นตัวเศรษฐกิจไม่ทั่วถึง และเศรษฐกิจฟื้นตัวจากรายได้ต่างประเทศเป็นหลัก มาตรการถึงเป็นแบบเจาะจง ซึ่งตอนนี้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตยังไม่ยื่นเข้ามาพบเพื่อหารือการปรับจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต และการเพิ่มดอกเบี้ยบัตรเครดิตแต่อย่างใด
“มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ หรือมาตรการฟ้าส้ม ใกล้จบมาตรการในสิ้นปีนี้ แต่ในแต่ละสถาบันการเงินยังมีแนวทางดูแลลูกหนี้ และปรับโครงสร้างหนี้อยู่ มองว่าไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เอ็นพีแอลหรือหนี้เสียเพิ่มขึ้น การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ได้หายไป แต่ช่วงโควิด เป็นจูงใจในเรื่องจัดชั้น ช่วยต้นทุนธนาคาร ตอนนี้รายได้ธนาคารกลับมาปกติแล้ว ก็ต้องสิ้นสุดแต่ก็ยังมีการปรับโครงสร้างให้ลูกหนี้อยู่ เน้นย้ำแก้หนี้ระยะยาวเรื่องให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบจะเริ่มใช้ปี 67 โดยสิ้นเดือนนี้ถึงต้นเดือนหน้าจะออกหลักเกณฑ์มา เช่นเดียวกับเปิดรับฟังความเห็นไตรมาส 3 เรื่องกำหนดดีเอสอาร์ กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงลูกหนี้”
น.ส.สุวรรณี กล่าวว่า สรุปภาพรวมธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 2 ปี 66 สินเชื่อหดตัวเล็กน้อย 0.4% จากระยะเดียวกันปีก่อน จากการทยอยชำระคืนหนี้ของภาคธุรกิจ หลังเร่งขยายตัวต่อเนื่องเพื่อเสริมสภาพคล่องในช่วงโควิด โดยเฉพาะการชำระคืนสินเชื่อเอสเอ็มอีและภาครัฐ ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ส่วนหนึ่งระดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้ ประกอบกับมีการบริหารจัดการคุณภาพหนี้ของธนาคารพาณิชย์ ด้านเอ็นพีแอล ลดลงมาอยู่ที่ 4.92 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.67% ส่วนหนี้ที่ใกล้เป็นเอ็นพีแอล หรือค้างชำระไม่เกิน 90 วัน อยู่ที่ 6.08% ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 6%